การรับมือกับปัญหาการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ

นอกเหนือจากการกัดกร่อนของหน้าดินและศัตรูพืชที่เพิ่มมากขึ้นแล้ว ชาวไร่กาแฟยังประสบกับปัญหาฝนตกไม่ตรงตามฤดูกาลและการเก็บเกี่ยวที่แปรเปลี่ยนไป ซึ่งส่งผลเชิงลบต่อชุมชนชาวไร่ และทำให้พื้นที่เพาะปลูกกาแฟลดลงทั่วโลก

การตระหนักถึงปัญหาการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศจึงมีความสำคัญต่อสตาร์บัคส์เป็นอย่างมาก เราเชื่อว่าขณะนี้เป็นเวลาที่เหมาะสมในการเพิ่มการลงทุนด้านการแก้ปัญหาและกลยุทธ์ในการจัดการกับวิกฤตการณ์นี้ โดยขั้นตอนการดำเนินการต่างๆ ไม่เพียงเกี่ยวข้องกับEnvironmental Footprint และผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของเราเท่านั้น แต่ยังเป็นการสร้างความมั่นใจว่าในอนาคตเราจะมีแหล่งกาแฟคุณภาพสูงสามารถตอบโจทย์ตามความคาดหวังลูกค้าของเราได้

เป้าหมายของเรา

เรามุ่งมั่นสนับสนุนโครงการช่วยเหลือชาวไร่กาแฟให้สามารถเข้าถึงคาร์บอนมาร์เก็ตได้ เพื่อส่งเสริมให้มีรายได้เพิ่มขึ้น ในขณะที่ช่วยป้องกันการตัดไม้ทำลายป่า

สิ่งที่เราทำอยู่

ตั้งแต่ปี 2004 สตาร์บัคส์ได้ดำเนินกลยุทธ์ด้านการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ  โดยมุ่งเน้นด้านพลังงานหมุนเวียน การประหยัดพลังงาน รวมถึงการให้ความร่วมมือและการสนับสนุน เรามุ่งมั่นที่จะลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมด้วยการประหยัดพลังงานและน้ำ ลดขยะที่เกี่ยวข้องกับแก้ว เพิ่มการรีไซเคิล และนำเอาการออกแบบเพื่อสิ่งแวดล้อมมาใช้กับร้าน นอกจากนี้ เรายังมุ่งมั่นที่จะเป็นผู้นำในการใช้นโยบายการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศเชิงรุก โดยอาศัยความร่วมมือกับองค์กรและธุรกิจรายอื่นๆ

โครงการ Coffee Carbon โดยสตาร์บัคส์และ CI

เรามีความกังวลเกี่ยวกับผลกระทบที่อาจส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศในภูมิภาคที่เพาะปลูกกาแฟ เพื่อช่วยดูแลและรับมือกับปัญหาการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ สตาร์บัคส์ได้จับมือกับองค์กรอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมนานาชาติ (Conservation International หรือ CI) เพื่อดำเนินโครงการนำร่องในการปรับปรุงการผลิตกาแฟ สงวนและฟื้นคืนถิ่นที่อยู่ตามธรรมชาติ และเสาะหาโอกาสในการช่วยเหลือชาวไร่ให้สามารถเข้าถึงฟลอเรสคาร์บอนมาร์เก็ตได้

เราได้ดำเนินโครงการนำร่องกับชุมชนผู้เพาะปลูกกาแฟกว่า 29 ชุมชนในหมู่เกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย และในชิอาปาส ประเทศเม็กซิโก ซึ่งต่างก็มีสิ่งแวดล้อมที่ง่ายต่อการแปรปรวน และมีธรรมเนียมในการเพาะปลูกกาแฟแตกต่างกันในปีที่แล้ว และในขณะนี้ เรากำลังดำเนินโครงการกับอีก 20 ชุมชนเพิ่มเติมในพื้นที่ทั้งสองแห่งนี้  

และด้วยความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น สตาร์บัคส์และองค์กรอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมนานาชาติ จึงได้ดำเนินโครงการส่งเสริมการอนุรักษ์ป่าไม้ที่มีค่าตอบแทน (Incentive Program) นำร่อง ด้วยการเชื่อมโยงชาวไร่กาแฟกับคาร์บอนมาร์เก็ต และการร่วมกับชาวไร่เพื่อลดการปล่อยคาร์บอน

การปล่อยก๊าซเรือนกระจก

ในปี 2011 สตาร์บัคส์ได้จดบันทึกการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (GHG) เพื่อติดตามและวัดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และประเมินการปล่อยก๊าซจากร้านและกิจกรรมการคั่วอบกาแฟของเราทั่วโลก โดยอิงจากระเบียบการว่าด้วยเรื่องก๊าซเรือนกระจกของสถานบัน World Resources Institute และพบว่ากว่า 80% ของก๊าซเรือนกระจกของเราเป็นผลมาจาก พลังงานที่ใช้ในร้าน สำนักงาน และโรงงานคั่วอบกาแฟของเรา เราจึงมุ่งเน้นการประหยัดพลังงานและการเลือกใช้พลังงานหมุนเวียน

สตาร์บัคส์ได้ใช้ระเบียบ WRI/WBCSD GHG มาตรฐานองค์กร เพื่อประเมินการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในปีงบประมาณ 2010 ของเรา จากรายงานในปี 2011 พบว่าเราประสบความสำเร็จในการลดการปล่อยก๊าซ GHG ลงไปกว่า 2.7% (เมื่อคิดแบบสัมบูรณ์) เมื่อเทียบกับ GHG ฟุตพริ้นท์ปริมาณ 1,006,954 เมตริกตันในปี 2010* 

*ฟุตพริ้นท์ในปี 2010 ได้รับการปรับค่าตามข้อมูลจากเวนเดอร์ที่ได้รับการแก้ไขแล้ว

Share to your friends